9 มีนาคม 2553

สีช่วยบอกอารมณ์

 

moodtone1
Mood &Tone of Color

วรรณะของสี
วรรณะของสี ในวงจรของสีเราแบ่งใหญ่ๆได้ 2 โทนนะครับ
วรรณะของสี จะทำการแบ่ง โดยใช้เส้นแบ่งครึ่งในวงจรสี
จากสีม่วง ถึงสีเหลือง จะได้ วรรณะละ 7 สี โดยมีสีม่วง กับสีเหลืองเป็นสีกลาง
1. โทนร้อน (Warm Tone Color)
Mood >>> ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง ตื่นเต้น กระตุ้นอารมณ์ได้เร็ว
2. โทนเย็น (Cool Tone Color)
Mood >>> ให้ความรู้สึกสงบ ร่มเย็น เงียบ เรียบๆ มีความเป็นส่วนตัว

moodtone2 
ภาพต้นฉบับ

ความรู้เรื่อง วรรณะของสี ในการสร้างสรรค์
ในการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยมากเรามักจะเน้นโทนสีของภาพ
ออกไปในทางวรรณะใดวรรณะหนึ่งเป็นหลักแต่บางครั้ง
เราสามารถนำเอาสีทั้งสองวรรณะมาไว้ในภาพเดียวกันได้
เพียงแต่รู้หลักในการนำมาใช้ กล่าวคือหากจะนำสีทั้งสองวรรณะ
มาไว้ในภาพเดียวกัน ถ้าเราใช้สีวรรณะร้อนที่มี%มากกว่า ตั้งแต่ 70%
ถึงของภาพแล้วใช้สีวรรณะเย็นเพียงเพียง 30% หรือ 20%
ผลของภาพนั้นก็ยังเป็นภาพวรรณะร้อน (warm tone)
เช่น วรรณะร้อน 80% - วรรณะเย็น 20% ,
วรรณะเย็น 80% - วรรณะร้อน 20%

moodtone3
ภาพโทนสีเขียว

คำแนะนำการใช้สี โดยส่วนตัว
1. การสร้างสรรค์ผลงานในวรรณะเย็นหรือร้อน จึงไม่จำเป็นต้องใช้สีใน
วรรณะร้อนหรือเย็นเพียงอย่างเดียว
2. เราสามารถเอาสีต่างวรรณะมาผสมผสานกันได้
3. แต่แต่แต่...ต้องคุมปริมาณให้อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง
ในปริมาณที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น
4. สีส่วนใหญ่ของภาพโดยใช้ค่าสี (value) ไม่ใช่หรือเสมอไปว่า
ถ้าสีชมพูส่วนใหญ่ก็จะใช้สีชมพูอย่างเดียว
5. เพราะโดยความจริงนั้นการใช้สีในงานนั้น จะมีสีทุกสีได้แต่ต้อง
ให้ผสานกลมกลืน เพื่อให้ภาพโดดเด่นออกมาเป็นเอกภาพ
6. เปรียบเทียบให้เห็นภาพ โดยเราก็ต้องดูว่าสีนั้นๆอยู่ในฝ่ายเย็น
หรือร้อน ก็อาจจะรู้อารมณ์ได้ว่าตอนนี้ทุกข์หรือสุข รื่นเริงหรือเศร้าสร้อย
7. สีเอกรงค์ (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว
แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่
มักดูเรียบๆ ง่ายๆ สบายๆ

moodtone4
ภาพโทนสีเขียว+น้ำตาลส้ม

moodtone5
ภาพโทนน้ำตาล-เหลือง

moodtone6 
ภาพโทนชมพู

2 มีนาคม 2553

ดีอย่างไร

การออกแบบแบนเนอร์
โดยใช้ตัวหนังสือภาษาไทยแบบมืออาชีพ

dee01

1. เลือกตัวหนังสือภาษาไทยที่เหมาะสม
ในภาษาไทยออกแบบและการการจัดวางค่อนข้างยากกว่าภาษาอังกฤษ
เหตุผลใหญ่ๆคือ
- ฟอนด์ภาษาอังกฤษไม่มีสระ วรรณยุกต์
- ฟอนด์ภาษาไทยมีหัวกลมๆและมีหางยาว

2. ฟอนด์ภาษาไทยรุ่นเก่าเป็นรุ่น Postscript
ใช้ได้กับillustrator เวอร์ชั่น10 ,Photoshop เวอร์ชั่น7
แต่ต้องมีปลั๊กอินช่วยแก้สระลอยและการตัดคำ
ฟอนด์ภาษาไทยรุ่นใหม่เป็นรุ่น Open Type ใช้ได้กับเวอร์ชั่นCS ขึ้นไป
เวอร์ชั่น CS3 แก้สละลอยได้เอง เวอร์ชั่น CS4 แก้สระลอยและตัดคำได้

3. ออกแบบและจัดวางให้สวยงามและเรียบร้อยน่าอ่าน

dee00

ประเภทของตัวหนังสือในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
3.1 Headline Type หัวข้อใหญ่
คือตัวพาดหัวคือตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงาน ทำหน้าที่ดึงดูดสายตาผู้พบเห็น นิยมใช้คำสั้นๆ ที่สื่อและนำพาให้เกิดสะดุดตาและเกิดความน่าสนใจและสามารถนำพาให้ผู้อ่านสนใจที่จะอ่านข้อความที่เหลือ
3.2 Sub- Head Type ตัวรอง
คือตัวรองมีสัดส่วนที่เล็กและบางกว่าตัวพาดหัว ใช้ขยายข้อความและ
ใส่ข้อมูลคร่าวๆ ทำหน้าที่ช่วยเพื่อความน่าสนใจของตัวพาดหัว
3.3 Body Type ตัวพื้น
ตัวอ่านหรือตัวพื้น มีขนาดเล็กที่สุดในงาน ทำหน้าที่เป็นเนื้อหาและข้อมูล
ตัวอ่านจะมีขาดประมาณ9-18 Point อยู่ที่ความเหมาะของขนาดหนังสือ
และวัยของผู้อ่าน (เช่น หนังสือสำหรับผู้สูงวัยอาจใช้14-18 Point)

4. การจัดวางLay-outใช้หลักองค์ประกอบศิลปะ
มาช่วยเรื่องของการออกแบบเช่น การจัดที่ว่าง-ตำแหน่ง
หลักการใช้สี, สีร้อน-สีเย็น, สีคู่, หรือสีตรงกันข้าม

5. ดูเรื่องของน้ำหนักสีแต่ละสีด้วยนะครับ

dee02

6. หลักง่ายๆที่ผมแนะนำคือ
ถ้าเป็นบทความหรือประโยคยาวๆ
แนะนำให้ใช้ฟอนด์ที่มีหัวครับเพราะจะได้อ่านง่าย
ถ้าเป็นหัวข้อหรือชื่อเรื่องหลักถึงจะเลือกใช้ฟอนด์ที่ไม่มีหัวครับ

dee03