2 มีนาคม 2553

ดีอย่างไร

การออกแบบแบนเนอร์
โดยใช้ตัวหนังสือภาษาไทยแบบมืออาชีพ

dee01

1. เลือกตัวหนังสือภาษาไทยที่เหมาะสม
ในภาษาไทยออกแบบและการการจัดวางค่อนข้างยากกว่าภาษาอังกฤษ
เหตุผลใหญ่ๆคือ
- ฟอนด์ภาษาอังกฤษไม่มีสระ วรรณยุกต์
- ฟอนด์ภาษาไทยมีหัวกลมๆและมีหางยาว

2. ฟอนด์ภาษาไทยรุ่นเก่าเป็นรุ่น Postscript
ใช้ได้กับillustrator เวอร์ชั่น10 ,Photoshop เวอร์ชั่น7
แต่ต้องมีปลั๊กอินช่วยแก้สระลอยและการตัดคำ
ฟอนด์ภาษาไทยรุ่นใหม่เป็นรุ่น Open Type ใช้ได้กับเวอร์ชั่นCS ขึ้นไป
เวอร์ชั่น CS3 แก้สละลอยได้เอง เวอร์ชั่น CS4 แก้สระลอยและตัดคำได้

3. ออกแบบและจัดวางให้สวยงามและเรียบร้อยน่าอ่าน

dee00

ประเภทของตัวหนังสือในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
3.1 Headline Type หัวข้อใหญ่
คือตัวพาดหัวคือตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงาน ทำหน้าที่ดึงดูดสายตาผู้พบเห็น นิยมใช้คำสั้นๆ ที่สื่อและนำพาให้เกิดสะดุดตาและเกิดความน่าสนใจและสามารถนำพาให้ผู้อ่านสนใจที่จะอ่านข้อความที่เหลือ
3.2 Sub- Head Type ตัวรอง
คือตัวรองมีสัดส่วนที่เล็กและบางกว่าตัวพาดหัว ใช้ขยายข้อความและ
ใส่ข้อมูลคร่าวๆ ทำหน้าที่ช่วยเพื่อความน่าสนใจของตัวพาดหัว
3.3 Body Type ตัวพื้น
ตัวอ่านหรือตัวพื้น มีขนาดเล็กที่สุดในงาน ทำหน้าที่เป็นเนื้อหาและข้อมูล
ตัวอ่านจะมีขาดประมาณ9-18 Point อยู่ที่ความเหมาะของขนาดหนังสือ
และวัยของผู้อ่าน (เช่น หนังสือสำหรับผู้สูงวัยอาจใช้14-18 Point)

4. การจัดวางLay-outใช้หลักองค์ประกอบศิลปะ
มาช่วยเรื่องของการออกแบบเช่น การจัดที่ว่าง-ตำแหน่ง
หลักการใช้สี, สีร้อน-สีเย็น, สีคู่, หรือสีตรงกันข้าม

5. ดูเรื่องของน้ำหนักสีแต่ละสีด้วยนะครับ

dee02

6. หลักง่ายๆที่ผมแนะนำคือ
ถ้าเป็นบทความหรือประโยคยาวๆ
แนะนำให้ใช้ฟอนด์ที่มีหัวครับเพราะจะได้อ่านง่าย
ถ้าเป็นหัวข้อหรือชื่อเรื่องหลักถึงจะเลือกใช้ฟอนด์ที่ไม่มีหัวครับ

dee03


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น